[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
link banner
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก
พยากรณ์อากาศ
 
ค้นหาจาก google
  

ประวัติ
    เรื่อง : พระพุทธไสยาสน์(หลวงพ่อพระนอน)

เจ้าของผลงาน : สาระความรู้
อังคาร ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2562
เข้าชม : 737    จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

                                       ประวัติพระพุทธไสยาสน์(หลวงพ่อพระนอน)

          วัดเขาทราย สร้างเมื่อ ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๐ มีขนาดความยาว ๓๑ เมตร  สูง ๑๒ เมตร มีพุทธลักษณ์สวยงามมากและความศักดิ์สิทธิ์ ขอพรสมปรารถนา ประดิษฐานอยู่ที่ ข้างบันไดขึ้นมณฑป ด้ายซ้าย                                                       
          พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา (สำเร็จสีหไสยา) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกาย พระหัตถ์ขวาแนบกับพื้นยกหลังพระหัตถ์ขึ้นแนบพระหนุ (คาง) หลับพระเนตร เป็นกิริยาบรรทมหลับ
พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้
           เมื่อพระมหาบุรุษพุทธางกูร บรมโพธิสัตว์เจ้า ทรงเลิกละทุกกรกิริยา เปลี่ยนมาทำความเพียรทางจิต โดยทรงเปรียบเทียบอุปมา ๓ ข้อ ที่พระองค์ไม่เคยสดับและไม่เคยดำริมาก่อนเลย ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์อย่างแจ่มแจ้งว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งยังมิได้หลีกออกจากกาม ยังพอใจรักใคร่ในกามอยู่ ยังละกามไม่ได้ ยังสงบระงับใจไม่ได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้จะพยายามทำความเพียรในทางปฏิบัติให้เข็มแข็งทนทุกข์ทรมานเพียงใด ๆ ก็ตาม ย่อมจะตรัสรู้ไม่ได้ เหมือนไม้สดที่แช่น้ำอยู่ บุคคลเอามาสีให้เกิดไฟ ย่อมจะไม่ได้ไฟเป็นแน่แท้ ด้วยไฟจะไม่เกิด ต้องเหน็ดเหนื่อยเปล่า เพราะไม้สดแถมแช่น้ำอีกด้วย
อีกข้อหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้หลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังพอใจรักใคร่ในกาม ยังละกามไม่ได้ ยังสงบระงับใจไม่ได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแม้จะพยายามทำความเพียรในทางปฏิบัติให้เข้มแข็งทนทุกข์ทรมานเพียงใดๆ ก็ตาม ก็ย่อมจะตรัสรู้ไม่ได้ เหมือนไม้สดแม้จะไม่ได้แช่น้ำ บุคคลจะเอามาสีให้เกิดไฟ ก็ย่อมจะไม่ได้ไฟเป็นแน่แท้ ด้วยไฟจะไม่เกิด ต้องเหน็ดเหนื่อยเปล่า เพราะไม้ยังสดอยู่
อีกข้อหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง หลีกออกจากกามแล้ว ละความพอใจในกามได้ ทำใจให้สงบระงับดีแล้ว เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้พยายามทำความเพียรในทางปฏิบัติ จะได้รับทุกข์ทรมาน หรือหาไม่ก็ตาม ก็ย่อมจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้ง ที่ไม่ได้แช่น้ำ บุคคลอาจเอามาสีให้เกิดไฟได้เป็นแน่แท้ เพราะเป็นของแห้ง ทั้งอยู่ในที่แห้งอีกด้วย
          อุปมาทั้ง ๓ ข้อนี้ ได้เป็นกำลังสนับสนุนพระหฤทัยให้พระมหาบุรุษพุทธางกูรเจ้าทรงมั่นหมายในการทำความเพียรทางใจว่า จะเป็นทางให้พระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณโดยแน่แท้
ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์ภิกษุ ผู้มีความนิยมทุกกรกิริยา เลื่อมใสในลัทธิทรมานกายให้ลำบาก ว่าเป็นทางที่จะให้ตรัสรู้ จึงพากันมาเฝ้าพระมหาบุรุษ เมื่อเห็นพระมหาบุรุษทำความเพียรในทุกกรกิริยาอย่างตึงเครียด เกินกว่าสามัญชนจะทำได้เช่นนั้น ก็ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใส มั่นใจว่าพระองค์จะต้องได้ตรัสรู้โดยฉับพลันและจะทรงพระเมตตาประทานธรรมเทศนาโปรดตนให้ตรัสรู้บ้าง แต่ครั้นเห็นพระมหาบุรุษทรงเลิกละทุกกรกิริยาที่ประพฤติมาแล้ว และเห็นร่วมกันว่า บัดนี้พระองค์คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว ก็เกิดเบื่อหน่ายในอันที่จะปฏิบัติบำรุงอีกต่อไป ด้วยเห็นว่าพระองค์คงจะไม่สามารถบรรลุธรรมวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงพากันหลีกหนีไปเสียจากที่นั้น ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
พระมหาบุรุษพุทธางกูรเจ้า ได้ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตมาด้วยดีตลอดเวลา จนถึงราตรีวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ เวลาบรรทมหลับ ทรงพระสุบินเป็นบุพพนิมิตรมหามงคล ๕ ประการ คือ

     ๑. ทรงพระสุบินว่า พระองค์ทรงผทมหงายเหนือพื้นปฐมพี พระเศียรหนุนภูเขาหิมพานต์ พระหัตถ์ซ้ายหยั่งลงในมหาสมุทรในทิศตะวันออก  พระหัตถ์ขวาและพระบาททั้งคู่หยั่งลงในมหาสมุทรทิศใต้
     ๒. ทรงพระสุบินว่า หญ้าแพรกเส้นหนึ่งออกจากพระนาภี สูงขึ้นไปจนถึงท้องฟ้า
     ๓. ทรงพระสุบินว่า หมู่หนอนทั้งหลาย สีขาวบ้างดำบ้างเป็นอันมาก ไต่ขึ้นมาแต่พื้นพระบาททั้งคู่ เต็มพระชงฆ์ และไต่ขึ้นมาถึงพระชานุมณฑล
     ๔. ทรงพระสุบินว่า ฝูงนก ๔ จำพวก มีสีต่าง ๆ กัน คือ สีเหลือง เขียว แดง ดำ บินมาแต่ทิศทั้ง ๔ ลงมาจับแทบพระบาทแล้วก็กลับกลายเป็นสีขาวไปสิ้น
     ๕. ทรงพระสุบินว่า เสด็จขึ้นไปเดินจงกรม บนยอดภูเขาอันเต็มไปด้วยอาจม แต่อาจมนั้นมิได้เปรอะเปื้อนพระยุคลบาท

ในพระสุบินทั้ง ๕ ข้อนั้น มีคำอธิบายทำนายว่า
     ข้อ ๑. พระมหาบุรุษเจ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓
     ข้อ ๒. พระมหาบุรุษเจ้าจะได้ทรงประกาศสัจธรรม เผยมรรค ผล นิพพาน แก่เทพยาและมนุษย์ทั้งมวล
     ข้อ ๓. คฤหัสถ์ พราหมณ์ทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์เป็นอันมาก
     ข้อ ๔. ชาวโลกทั้งหลาย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทย์ เมื่อมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว จะรู้ทั่วถึงธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสไปสิ้น
     ข้อ ๕. ถึงแม้พระองค์จะสมบูรณ์ด้วยสักการะวรามิส ที่ชาวโลกทุกทิศน้อมถวายด้วยความเลื่อมใส ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

          ครั้นพระมหาบุรุษเจ้า ตื่นผทมแล้ว ก็ทรงดำริถึงข้อความในพระมหาสุบินทั้ง ๕ นั้น แล้วทรงทำนายด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์เอง ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่แท้ ก็ทรงเบิกบานพระทัย ครั้นได้ทรงทำสรีรกิจ สะสรงพระกายหมดจดแล้ว ก็เสด็จมาประทับนั่งที่ร่มไม้นิโครธพฤกษ์ ในยามเช้าแห่งวันเพ็ญวิสาขปุณณมีดิถีกลางเดือน ๖ ปีระกา.

คลิกที่นี่เพื่อรับชมภาพทั้งหมด




ประวัติ 5 อันดับล่าสุด

      หลวงหิน 10/ธ.ค./2562
      พระประจำวันเกิด 10/ธ.ค./2562
      หลวงพ่อเงินทองไหลมาเทมาตลอดกาล 10/ธ.ค./2562
      พระสังกัจจาย(หลวงพ่ออ้วน) 10/ธ.ค./2562
      เจ้าแม่กวนอิม 10/ธ.ค./2562